.
..สวัสดีครับยินดีต้อนรับผู้เยี่ยมชมทุกท่าน...
..บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อประกอบการเรียนการสอนในรายวิชา
นวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา ภาคเรียนที่ 1/2556 สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาเอกคอมพิวเตอร์ศึกษา
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง บล็อกนี้จะมีประโยชน์กับผู้ที่ได้เข้ามาศึกษาสามารถค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับเนื้อหาสาระในรายวิชานี้ครับ...หากมีข้อมูล หรือเนื้อหาอาจไม่ตรงตามความต้องการและเกิดมีข้อผิดพลาดประการใด
ก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย..
โครงการสอน
PC54505
วิชานวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา 3(2-2-5)
(Innovation, Technology and Information in Education)
อาจารย์ผู้สอน
ผศ.ดร.วิวรรธน์ จันทร์เทพย์
คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
ภาคเรียนที่ 1 / 2556
คำอธิบายรายวิชา
........> > ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยี
สารสนเทศ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น
ไมโครซอฟท์คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารข้อมูล ระบบเน็ตเวิร์ด
ระบบซอฟท์แวร์ การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เครื่องมือการเข้าถึงสารสนเทศ ทักษะการเข้าถึงสารสนเทศ ฐานข้อมูลสารสนเทศ
ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์และการอ้างอิง ฝึกปฏิบัติการ
สามารถใช้คอมพวิเตอร์ขั้นพื้นฐานและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้อย่าง
เหมาะสมได้
วัตถุประสงค์ในรายวิชา
........> > เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาบทเรียนจบแล้วตามหลักสูตรแล้วจะมีพฤติกรรมหรือความสามารถดังนี้
1. อธิบายความหมาย ความสำคัญ
และองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศได้
2. อธิบายความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้
3. ยกตัวอย่างเทคโนดลยีสารสนเทศและการสื่อสารในชีวิตจริงได้
4. อธิบายความหมายและความสำคัญของวิธีระบบได้
5. อธิบายความสัมพันธ์ของวิธีระบบกับเทคโนโลยีสารสนเทศได้
6. บอกความหมายและองค์ประสกอบสำคัญๆของคอมพิวเตอร์ได้
7. อธิบายหน้าที่ขององค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ได้
8. บอกประเภทและคุณสมบัติของซอฟท์แวร์แต่ละประเภทได้
9. บอกความหมายและความสำคัญของอินเตอร์เน็ตได้
10. บอกความสัมพันธ์ของเครือขายคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้
11. อธิบายแหล่งเรียนรู้ต่าง
ๆ ที่สามารถเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายได้
12. อธิบายวิธีประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษาได้
13. ยกตัวอย่างโปรแกรมต่าง
ๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนได้
14. สร้างสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนได้
15. นำเสนอสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งที่เป็นสื่อทั่วไปและสื่อระบบเครือข่ายได้
เนื้อหาบทเรียน
หน่วยการเรียนที่ 1 แนวคิด ทฤษฎี ความหมาย ความสำคัญของนวัตกรรม
เทคโนโลยีและสารสนเทศการศึกษา
หน่วยการเรียนที่ 2
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
หน่วยการเรียนที่ 3 สื่อการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 4 วิธีระบบ
หน่วยการเรียนที่ 5 จิตวิทยาการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 6 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
หน่วยการเรียนที่ 7
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
หน่วยการเรียนที่ 8
หนังสืออีเล็กทรอนิกส์ (e-Book)
หน่วยการเรียนที่ 9 สื่อมัลติมีเดีย
(Multi-Media)
หน่วยการเรียนที่ 10 การเรียนการสอนแบบผสมผสาน
รูปแบบของกระบวนการเรียนการสอน
.......> > วิธีสอน
: เป็นการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Blended Learning)
เนื้อหาบทเรียน
:
เนื้อหาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู
เครื่องมือกำกับการเรียนรู้
: ความซื่อสัตย์(integrity)
กิจกรรมการเรียนการสอน
........> > การบรรยายประกอบสื่อในชั้นเรียนปกติ
(traditional classroom)
การศึกษาค้นคว้าด้วยสื่อออนไลน์หรือเว็บบล็อก
การสรุปและนำเสนอในชั้นเรียนด้วยสื่อ
ICT
การอภิปรายแสดงความคิดเห็น
การสรุปเป็นรายงาน
การทดสอบเพื่อวัดและประเมินผล
การบูรณาการกับความพอเพียง
ความมีเหตุผล
ความพอประมาณ
ภูมิคุ้มกันในตนเองที่ดี
- เงื่อนไขความรู้ :
รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง
- เงื่อนไขคุณธรรม :
ซื่อสัตย์ แบ่งปัน
คุณลักษณะที่พึงประสงค์
.....> > ผู้เรียนที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชานี้จะต้องเป็นผู้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์สำคัญได้แก่ ความซื่อสัตย์
โดยแสดงออกอย่างบูรณาการอย่างสัมพันธ์กับพฤติกรรมต่างๆไปพร้อมๆกับกิจกรรมการเรียนการสอนทุกขั้นตอน เช่น
- ความรับผิชอบและตรงต่อเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน
- มีความรักความสามัคคีในกลุ่มผู้เรียนร่วมวิชาเอกเดียวกันและวิชาเอกอื่นๆ
- ให้ความช่วยเหลือผู้อื่นด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์
- ใฝ่ดี ใฝ่รู้
สู้งาน
- มีความคิดสร้างสรรค์
- มีระเบียบวินัยในการแต่งกาย
- สุภาพ เสรีภาพ
อ่อนน้อม และให้เกียรติผู้อื่น
แหล่งเรียนรู้
1. ห้องสมุด
2. อินเตอร์เน็ต
3. เอกสารประกอบการสอน
4. ตัวอย่างเว็บบล็อก
5. สื่อของจริง ของตัวอย่าง
6. ชุมชนท้องถิ่น
การวัดและประเมินผล
1. การวัดผล
1.1
การเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน(คุณลักษณะที่พึงประสงค์) 10 %
1.2 เอกสารรายงาน การแสดงความคิดเห็นและการประเมิน
(รายบุคคล) 10 %
1.3 เว็บบล็อก (รายบุคคล)
20 %
1.4 เว็บบล็อก (กลุ่ม)
20
%
1.4
การนำเสนอผลงานการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับการเรียนการสอน 20
%
1.5 สอบปลายภาค 20 %
2. การประเมินผล
ระดับคะแนน 80 – 100
ค่าระดับคะแนน A
ระดับคะแนน 75 – 79 ค่าระดับคะแนน B+
ระดับคะแนน 70 – 74 ค่าระดับคะแนน B
ระดับคะแนน 65 – 69
ค่าระดับคะแนน C+
ระดับคะแนน 60 – 64
ค่าระดับคะแนน C
ระดับคะแนน 55 – 59
ค่าระดับคะแนน D+
ระดับคะแนน 50 – 54
ค่าระดับคะแนน D
ระดับคะแนน 0 – 49 ค่าระดับคะแนน E